LINE

ติดต่อสอบถาม ได้ที่ 074-223420 หรือ 081-5988838
LINE ID : mailaser2006

2554-01-28

นายแม่ ( แน่มาก) แห่ง 93 Mass FM / Mind FM 104.25


นับเป็นโชควาสนา ของสาวๆ ..เอ็มเอไอ เลเซอร์คลีนิค ที่มีโอกาสได้สวย เริ่ด เชิด หยิ่ง ด้วยฝีมือของ
มืออาชีพอย่าง พี่วี หรือ ดีเจวีระศักดิ์ หรือ ตอนนี้ ทั้งหาดใหญ่คงไม่มีใครไม่รู้จัก



"""นายแม่ แห่ง 93 MASS FM""" นอกจากฝีปากอันคมคายและสนุกสนาน จนคนติดกันทั้งเมือง


นายแม่ยังมีฝีมือในการแต่งหน้าให้เหมาะกับโหงวเฮ้ง อีกด้วย โดยมีดีกรีเป็นถึงผู้เชี่ยวชาญของเครื่องสำอาง ARTISTY


มาดูรูปกันดีกว่า ว่าสาวเอ็มเอไอ จะแปลงโฉมกัน




ได้สวยขนาดไหน


น้องดามีปัญหาผิวมัน มีสิวและหลุมสิว พี่วีลงรองพื้นและแป้ง จนแทบไม่เห็นรอย ( สุดยอด)






น้องจี้ด มีปัญหาแก้มเยอะ และ เปลือกตาค่อนข้างบวม พี่วี ลงสีโทนเขียวให้สวยจน จำแทบไม่ได้

(ชนะเลิศ)


คนสวย ถ่ายรูปร่วมกัน เป็นที่ระลึก
ใครอยากสวยแบบนี้บ้าง ไปหา นายแม่ ที่ 93 mass FM ได้เลยค่ะ @^__^@/


สิว ....การรักษาด้วยยา isotretinoin กับอัตราการฆ่าตัวตาย



มีการศึกษาที่น่าสนใจจากสวีเดน เกี่ยวกับ ""การรักษาสิวด้วยยา isotretinoin หรือ ยาไอโซเท็น ( Isoten )ที่วัยรุ่นบ้านเราและทั่วโลกนิยมทานเวลาเกิดสิวอักเสบกับอัตราการฆ่าตัวตาย "" การศึกษาพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการพยายามฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเริ่มใช้ยาและขณะที่ใช้ยา โดยจะลดลงเมื่อหยุดใช้ยาไปซักระยะ ตัวนี้ยาเป็นยาที่มีการใช้และห้ามใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นยารักษาสิวที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะเดียวกันก็มี ผลข้างเคียงจากยาสูงมากเช่นกัน ซึ่งได้แก่
  • ปากแห้ง/ตาแห้ง/ปวดศรีษะ/ไขมันในเลือดสูง

  • ผลข้างเคียงรุนแรงคือ ตับอักเสบ /ตับวาย /ทำให้เกิดความพิการในทารกหากตั้งครรภ์

ดังนั้นการเลือกใช้ยาประเภทนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก เพราะอาจทำให้อาการซึมเศร้า หดหู่แย่ลง โดยเฉพาะคนที่มีอาการซึมเศร้าจากสิวอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากคนที่จำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้มี มักมี สิวอักเสบ และแผลเป็นจากสิว หรือหลุมสิวอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งรอยต่างๆเหล่านี้ไม่ได้หายไปแม้จะทานยาแล้วก็ตาม และ โดยมากมักต้องทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยหยุดยาแล้วมักมีสิวขึ้นใหม่อีก


จาก Medscape Dermatology 14/12/2010

Association of Suicide Attempts With Acne and Treatment With Isotretinoin: Retrospective Swedish Cohort Study.

Sundström A, Alfredsson L, Sjölin-Forsberg G, Gerdén B, Bergman U, Jokinen J.
BMJ. 2010;341:c5812.
Study Summary
The synthetic oral retinoid isotretinoin can be an effective, life-changing therapy for individuals with disfiguring nodulocystic acne. Enthusiasm for isotretinoin, however, has always been tempered by its long list of potential adverse effects, which range from mild (xerosis, retinoid dermatitis, transient hyperlipidemia) to severe (hepatotoxicity, teratogenicity). Recently, much negative attention has focused on a controversial, potentially life-threatening link between oral isotretinoin use, depression, and suicidal ideation, with some studies suggesting an association[1,2] and others finding none.[3] Now, Sunderström and colleagues report results from a large Swedish retrospective cohort study undertaken to explore the putative link between acne, isotretinoin therapy, and attempted suicide.


This large retrospective study drew from the national registers of isotretinoin users (1980-1989) and cause of death (1980-2001), yielding a cohort of 5756 patients with severe acne (63% men; mean age of men, 22.3 years; mean age of women, 27.1 years) who had been prescribed isotretinoin for a mean treatment length of 6 months. Investigators looked for the number of patients from this group who had been admitted for attempted suicide before, during, or after isotretinoin therapy. These numbers were then compared with age- and gender-matched population controls to determine standardized incidence ratios of first and multiple suicide attempts. On the basis of this analysis, the investigators report the following:

  1. During the observation period, there were 210 hospital admissions (among 128 patients) for attempted suicide; 24 patients committed suicide.


  2. During the year before isotretinoin therapy, the incidence ratio for attempted suicide (all attempts) was raised to 1.57; the incidence ratio was raised even more for first attempts (1.93).


  3. The standardized incidence ratio for attempted suicide was raised during and up to 6 months after isotretinoin therapy (1.78 for all attempts; 1.93 for first attempts).


  4. At 3 years after isotretinoin therapy, suicide risk dropped back to baseline population rates (incidence ratio 1.04 for all attempts; 0.97 for first attempts).


  5. Patients with acne who made their first suicide attempt during isotretinoin therapy were twice as likely to make subsequent attempts as patients who made their first suicide attempt before isotretinoin exposure.


  6. Patients taking multiple isotretinoin courses showed a greater risk of attempting suicide, perhaps as a result of the refractory nature of their acne (eg, treatment failure).

2554-01-27

Melasma And Freckle

Melasma VS. Freckle
Both freckles and melasma are a result of a genetic predisposition and direct sun exposure. Freckles and melasma normally form on the nose, cheeks, and forehead as a result of pigment-producing cells (the melanocytes) in the skin creating melanin at an increased rate.

The color of freckles vary from yellow to red or black .

Melasma is normally tan or a light brown color.

Unlike what is commonly seen with freckles, melasma can form on the lips and upper lip in large patches. Often times melasma forms in symmetrical shapes on the face.
For example, patches may form on both temples or on both cheeks in the same place where as freckles appear randomly on the skin.


Treatments to reduce the appearance of freckles are different from melasma treatments.


For freckle


-Laser with Q-switch 532 nm ND YAG is the best choices.

-Intense Pulse Light Is the second choice in white or yellow skin because of, better shinning skin not only the freckle but the whole face.

-Skin Bleaching cream or AHA may halp the reduce the colors .


Treatments of Melasma are more complicated.

Melasma is multi-factorial in etiology. Way to traet need the combinations of all these:

1. Sun protection.

2.Avoid using pill or other kinds of Hormone.

3.Good skincare and whitening cream.

4.The medicine that contains Vitamin A acid /Low dose steroid/ Hydroquinone may need.

5.Skin bleaching with AHA or other Acids.

6.Laser or IPL

are likely for some reasons :
- not response to the medication.

- tendency to be dermal melasma.
- need the other advantages from laser eg.

thightening/reduce pores size/rejuvenation


"กระ" ต่างกับ "ฝ้า" อย่างไร



กระ

มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดมักเล็ก กว่า 0.5 ซม.

พบกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและผิวหนังที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ

สาเหตุจากพันธุกรรมร่วมด้วย เริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจากนั้นจะค่อยๆมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและสีเข้มขึ้น

การรักษา
-ทาครีมหน้าขาว [whitening ] และ หลบแดดอาจจางลงบ้างแต่ไม่หาย

-ใช้กรดทา หรือผลัดผิว จางลงได้แต่ต้องใช้เวลา

- ทำลายเซลล์สีผิดปกติด้วยเลเซอร์ YAG หรือ IPL รอยโรคหายไปแต่ควรดูแลไม่งั้นมาอีกได้

ฝ้า

มีลักษณะเป็นเปื้อนสีนำตาล เข้ม อ่อน ขึ้นกับความลึกและความหนาของเซลล์สี

พบกระจายบริเวณโหนกแก้ม จมูก โหนกคิ้ว เหนือริมฝีปาก

สาเหตุของการเกิดฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่


  • แสงแดด ทั้ง UV-A และ UV-B

  • ฮอร์โมน จึงพบฝ้าได้บ่อยในคนที่ทานยาคุมกำเนิด หญิงตั้งครรภ์

  • ยารับประทานบางชนิด เช่น ยากันชัก

  • การแพ้เครื่องสำอาง โดยมากเกิดจากสารเคมีที่มีสีที่ผสมมาในเครื่องสำอาง

  • พันธุกรรม

การรักษา

  1. ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ

  2. งดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือฮอร์โมน ที่ไม่จำเป็น

  3. เลือกเครื่องสำอางที่มีคุณภาพ

  4. เลือกใช้ยาควบคุมฝ้าที่ได้มาตราฐานโดยรู้จักส่วนผสมและมีการปรับใช้อย่างเหมาะสม

  5. รับประทานยาที่ช่วยควบคุมการเกิดฝ้า

  6. การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อาทิเช่น การผลัดผิว การใช้วิตามินบำรุง ช่วยทำให้ฝ้าจางเร็วขึ้น แต่ต้องควบคุมฝ้าด้วยวิธีอื่น ร่วมด้วย

  7. การใช้เลเซอร์ ช่วยรักษา
  • เหมาะกับคนที่มีปัญหาผิวอื่นๆ ร่วมด้วยที่ต้องการการรักษาด้วยเลเซอร์ เช่น กระ ผิวหมองคล้ำ หย่อนคล้อย

  • รักษาด้วยยาอย่างเดียวแล้วไม่เห็นผล หรือมีปัญหาจากยาฝ้าที่ใช้หรือวิธีรักษาเดิมๆ

  • ฝ้าลึกที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล

Onwimon Suttisirikul, MD


http://http//www.skinlaser-hatyai.com/melasma_treatment.html

2554-01-26

""ผิวสวย"" แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร



ผิวสวยที่ทุกคนอยากมีผิวนั้น คือผิวที่อยู่ในช่วงอายุ 10-20 ปี ซึ่งสดใส เต่งตึง ปราศจากสิวฝ้า และจุดด่างดำบนใบหน้า การมีผิวสวยนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของคนทุกคน เพราะเชื่อว่าสามารถดึงดูดเพื่อนและเพศตรงข้ามได้ดี


ทางการแพทย์นั้น ลักษณะผิวสวยและแข็งแรง มีคุณสมบัติดังนี้



  1. มีสารเคลือบผิวตามธรรมชาติ

  2. มีการผลัดเซลล์ผิวอยู่เป็นประจำ

  3. กระบวนการซ่อมแซมคอลลาเจนและไฟเบอร์อิลาสตินมีประสิทธิภาพเยี่ยม

  4. มีการไหลเวียนของเลือดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหมายความถึงมีการไหลเวียนของสารอาหารที่เพียงพอต่อผิว

  5. มีระดับการกักเก็บ proteoglycans และ glycosaminoglycan ที่เพียงพอ (กรดอะมิโนที่ทำให้ผิวเต่งตึง ไม่เหี่ยวแฟบ )

  6. มีความสามารถในการรักษาบาดแผลได้อย่างรวดเร็ว

  7. มีระดับการต้านอนุมูลอิสระสูง

  8. มีน้ำมันตามธรรมชาติของผิวที่มีปริมาณเพียงพอ แต่ไม่มากเกินไป

  9. มีระดับไขมันใต้ผิวหนังหนาพอสมควร

ดังนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสมเป็นประจำ ทานอาหารที่มีคุณค่า รวมถึงการดูแลผิวด้วยเทคโนโลยีที่ถูกต้อง เหมาะสม จึงเป็นทางที่จะทำให้ผิวสวยอ่อนเยาว์อยู่กับคุณไปนานเท่านาน


Onwimon suttisirikul. MD



สาเหตุของการเกิด รอยแตกลาย [ Striae / Strach marks ] ?


ผิวแตกลาย เกิดจากการยืดขยายต่อเนื่องของ ผิวหนัง และเนื้อเยื่อในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดการทำลายโครงสร้างของชั้นคอลลาเจน พบได้บ่อยที่สุดใน



  • หญิงตั้งครรภ์ บริเวณท้อง หรือหน้าอก

  • คนที่อ้วนอย่างรวดเร็ว หรือในวัยรุ่นที่กำลังสูงอย่างรวดเร็ว โดยพบผิวแตกลายได้ที่ ต้นขาด้านนอก หลังด้านล่าง หรือสะโพก

  • คนที่ทานยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ มักมีรอยแตกลายใหญ่และเป็นหลายที่ รวมถึงบนใบหน้าหรือการทาครีมที่มี สเตียรอยด์ ความเข้มข้นสูง นานเกินไปก็ทำให้เกิดรอยแตกลายได้


การป้องกันและรักษา รอยแตกลาย ?


การรักษาด้วยการทาครีมบำรุง หรือน้ำมันต่าง ๆ ช่วยได้เพียงเล็กน้อยมาก


ในระยะแรก รอยแตกลาย จะเป็นเส้นแบนหรือนูนเล็กน้อย สีแดงปนชมพู สามารถรักษาได้โดย


1. ทายาอนุพันธ์กรด วิตามินเอ เช่น Tretinoin 0.05-0.1%


2. กรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี ( Microdermabrasion ) หรือผลัดผิวด้วยกรดผลไม้ ( Chemical Peel ) ก็ช่วยทำให้ผิวดูเรียบขึ้นโดยการกำจัดเซลล์ชั้นบน ๆ ออกไป ได้ผล 10-30%


3. เลเซอร์ทำลายรอยแดง เช่น Pulsed dye laser , แสงความเข้มข้นสูง ( FPL,IPL ) กระตุ้น Collagen และปรับสีรอยแตกให้ใกล้เคียงกับผิวปกติ ได้ผล 30-80%



  • แสงความเข้มข้นสูง ( FPL,IPL ) ได้ผลบ้างแต่น้อยมาก

  • เลเซอร์ Nd : YAG ช่วยกระตุ้น Collagen ให้รอยแตกตื้นขึ้นได้บ้าง 10-30%

  • Carboxytherapy เป็นการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าบริเวณที่ต้องการรักษา เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด และออกซิเจนช่วยกระตุ้นการสร้าง คอลลาเจน จำเป็นทีต้องทำหลายครั้ง ได้ผลการรักษาประมาณ 30-60%

  • Fractional laser หรือ FineScan เป็นวิธีการรักษาล่าสุด เป็นเลเซอร์ที่ช่วยสร้างผิวใหม่ คล้ายการรักษาแผลเป็นหรือหลุมสิว เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในเวลานี้ ได้ผล 60-90 % ขึ้นไปนับเป็นวิธีที่ให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน


ทางเลือกใหม่ของผิวสวย ไร้สิว แผลเป็น FineScan 1550

Fine Scan ( ฟายสแกน ) เป็นเลเซอร์ใหม่ล่าสุดซึ่งใช้เทคโนโลยีการยิงแสงเลเซอร์เป็นจุดเล็กๆจำนวนมาก ที่เรียกว่า Fractional Erbium Fiber Laser แสงเลเซอร์ผ่านลงลึกไปยังชั้นผิวหนังที่เป็นเป้าหมายในการรักษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแม่นยำสูงจึงทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงกับเซลล์ผิวหนังได้อย่างชัดเจนตั้งแต่รักษาครั้งแรก จึงเป็นเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปัญหาผิวที่มีปัญหาได้เป็นอย่างดี



การรักษาด้วย Fine Scan 1550 เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาดังนี้


  • ริ้วรอย รอยเหี่ยวย่นโดยเฉพาะรอบดวงตา ร่องลึก

  • หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว

  • รักษาและป้องกันรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด แผลเป็นคีลอยด์ (keloid )

  • รูขุมขนกว้าง ผิวหยาบกร้าน ไม่เนียนเรียบ

  • รอยแตกลาย

  • ผิวหย่อนคล้อย

  • ฝ้า จุดด่างดำ ผิวหมองคล้ำ

  • ลดความมัน ลดการเกิดสิว

ขึ้นอยู่กับสภาพผิวและปัญหาที่ต้องการรักษา

  • ในกรณีที่เป็นหลุมสิว หรือริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ต้องการจำนวนครั้งในการรักษามากกว่าส่วนใหญ่ประมาณ 4-6 ครั้ง
  • หลุมสิวลึก รอยแผลเป็นจากสิวที่มีพังพืดควรทำร่วมกับการตัดหลุมสิว ( Subcision )เพื่อผลการรักษาที่ชัดเจน
  • รูขุมขน ผิวหน้าตึง หน้าใส รอยแตกลายดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังรักษาเพียง 1-2 ครั้ง


*** การรักษาด้วย Fine Scan 1550 สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงบนผิวทันทีที่หลังการรักษาครั้งแรก ผิวจะดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกระบวนการสร้างคอลลาเจนใหม่ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไปอีก 4-6 สัปดาห์ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้รับการรักษาจะรู้สึกผิวพรรณดีขึ้น มากกว่าเดิมแม้หยุดรักษาไปแล้วก็ตาม

การเลือกใช้ครีมกันแดด

ผิวหนังและตาเป็นอวัยวะที่ต้องเปิดรับแสงแดดได้มากที่สุด แม้ว่าผมและเล็บจะมีโอกาสได้รับมากที่สุดเช่นกันแต่ไม่ไวต่อแสงและมีความสำคัญมากในทางการแพทย์การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผิวหนัง ตา และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยเฉียบพลันหรือสะสมเรื้อรัง

ผลกระทบเฉียบพลันได้แก่ ผิวหนังแดง (Erythema) ผิวหนังเกรียมและกระจกตาอักเสบจากแสงแดด (Photokeratitis)

ผลกระทบสะสมเรื้อรังเช่น มะเร็งผิวหนัง ผิวหนังแก่ก่อนวัย โรคตาเช่นต้อเนื้อ ต้อลม(Pterygium) และพยาธิสภาพของกระจกตา (Keratopathy)

ขณะที่ UV-B ก่อให้เกิดผิวหนังเกรียมและมะเร็งผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ UV-A มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและความสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเนื้อเยื่ออีลาสติคดังนั้นจึงไปเร่งอายุขัยให้กับเซลล์ผิวหนัง เราจึงมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจเรื่องความสามารถของผิวหนังในการปรับตัวต่อรังสีอัลตราไวโอเลตโดยก่อให้เกิดเซลล์สร้างสีสีแดงหรือสีน้ำตาล (Tan) ซึ่งมีผลต่อต้านการรับรังสีอัลตราไวโอเลตในขณะที่ตามนุษย์ไม่มีความสามารถนี้

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันผิวหนังคือการสวมเสื้อผ้า หมวก กางเกง เสื้อผ้าที่รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านได้ควรระบุชัดเจน ส่วนผิวที่ไม่สามารถป้องกันได้โดยเสื้อผ้าควรใช้ยากันแดดที่ประกอบด้วยตัวกรอง UV-A และ UV-B ระหว่างได้รับแสงแดดครั้งแรกควรใช้ยากันแดดที่มีแฟคเตอร์ป้องกันแสงแดด SPF (Sun Protection Factor) ประมาณ 30

เด็กและทารกควรได้รับการระมัดระวังมากเป็นพิเศษความสามารถป้องกันแสงแดดของยากันแดดไม่เพียงขึ้นอยู่กับคุณภาพแต่รวมไปถึงการใช้อย่างถูกวิธี คนส่วนใหญ่ทายากันแดดน้อยเกินไปและทาไม่บ่อยอย่างเพียงพอ

ยากันแดดที่มีแฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดต่ำกว่า 15 ควรจะต้องทาทุก 2 ชั่วโมง ควรใช้ก่อนรับแสงแดดและควรทาซ้ำหลังการว่ายน้ำถ้าใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันผิวเกรียม มะเร็งผิวหนังและการแก่ก่อนวัย

การเลือกใช้ยากันแดด

แฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์เป็นตัวบอกประสิทธิภาพที่สูงขึ้นตามตัวเลขเนื่องจากอันตรายต่อผิวหนังที่ได้รับจาก UV-A และยังไม่มีมาตรฐานการกรอง UV-Aของยากันแดดจึงควรตรวจสอบวันหมดอายุของตัวกรอง UV-A ในผลิตภัณฑ์ด้วยไม่ควรใช้ยากันแดดเพื่อการอยู่กลางแดดนานขึ้นแต่ว่าควรจำกัดการได้รับแสงแดดเช่นกันจึงเป็นเหตุผลว่าควรทายากันแดดซ้ำบ่อยๆโดยเฉพาะบริเวณที่อ่อนและไวต่อแสงเช่น จมูก หู คอ หลังส่วนบน หลังเท้า ฯลฯ ให้เลือกยากันแดดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละชนิดผิวและระดับดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต ดังตาราง

ตารางที่ 2 แสดง แฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดที่แนะนำสำหรับแต่ละชนิดผิว ที่ระดับดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต ต่างๆ

UV INDEX

ชนิดผิวที่ 1

ชนิดผิวที่ 2

ชนิดผิวที่ 3

ชนิดผิวที่ 4

1-3

15

12

9

6

4-6

30

25

15

12

7-9

50

40

30

20

>10

60

50

40

30

ตารางที่ 1 แสดงชนิดผิวหนัง

ชนิดผิว

สีผิว

สีตา

สีผม

ชนิดผิวที่ 1

ขาว /อาจมีกระเล็กน้อย

ฟ้า

แดง

ชนิดผิวที่ 2

ขาว

ฟ้า / เขียว

บลอนด์ / น้ำตาล

ชนิดผิวที่ 3

ขาว

น้ำตาล / เทา

น้ำตาล

ชนิดผิวที่ 4

ดำหรือน้ำตาลเข้ม

น้ำตาล

น้ำตาล/ดำ

นอกจากชนิดผิวหนังแล้วปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับโรคผิวหนังและโรคตายังสามารถเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการป้องกันได้เช่นปฏิกิริยาความไวต่อแสงที่เกิดจากยาบางชนิดที่รักษาโรคผิวหนังเช่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับแสงในช่วง UV-B และ UV-A (Psoralens) สารเคมีซึ่งอยู่ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดมีความสามารถดูดซับแสงที่ความยาวคลื่น 405 nm (porphyrin)น้ำมันดำแลถ่านหิน ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบชนิดต่างๆและพืชบางชนิด ฯลฯ สามารถก่อให้เกิดผิวหนังแดงแม้เพียงได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นปริมาณเล็กน้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิว



คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการรักษาสิว

1.
การดูแลสุขอนามัยที่ดีจะทำให้ลดการเกิดสิว

การดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น การใช้สบู่ การดูแลความมันบนใบหน้าจะทำให้ลดการเกิดสิว
ความจริงคือ ยังไม่มีข้อสรุปที่บอกว่าการดูแลผิวพรรณให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดการเกิดสิวซ้ำร้ายหากการดูแลความสะอาดนั้นอาจทำให้เกิดสิวเพิ่มมากขึ้นด้วยหากดูแลผิดวิธียกตัวอย่างเช่น การใช้สบู่ที่มีฤทธิ์ในการชำระล้างที่สูงเกินไป การใช้มือถูนวดใบหน้ามากเกินไป

2. การล้างหน้าช่วยทำให้ลดการเกิดสิว
การล้างหน้าบ่อยๆช่วยลดการเกิดสิว
ความจริงคือ การล้างหน้าที่มากเกินไปร่วมกับการขัดถูจะทำให้สิวแย่ลง โดยการกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดสิวอักเสบหรือรอยดำจากสิวขึ้นมาได้ เคยมีการทดลองเปรียบเทียบการรักษาสิวโดยแบ่งเป็น กลุ่มA พยายามรักษาสิวโดยทำให้ผิวแห้งที่สุด กลุ่มB รักษาตามปกติ กลุ่มC รักษาโดยพยายามหลีกเลี่ยงน้ำ ผลที่ได้คือ กลุ่ม BและC ให้ผลที่ดีกว่าการรักษาที่ทำให้ใบหน้าแห้ง

3. การแตะจับใบหน้าบ่อยๆมีผลทำให้สิวแย่ลงหรือไม่
การแตะจับใบหน้าบ่อยๆมีผลทำให้สิวเพิ่มขึ้น
ความจริงคือ การแตะจับผิวหน้าบ่อยๆ เกิดการระคายเคืองของผิวหนังทำให้เกิดสิว การทำทรีตเมนท์ต่างๆ หรือการนวดหน้ามากเกินไปก็ทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน

4. การแกะสิวหรือกดสิว
การแกะหรือกดหัวสิวทำให้สิวแย่ลง
ความจริงคือ การแกะสิวและการกดสิวอย่างไม่ถูกวิธีหรือทำมากเกินไป ทำให้มีรอยแผลเป็นจากสิวการใช้น้ำกรดแต้มก็ไม่ได้ช่วยการรักษาสิวแต่ทำให้มีรอยดำหรือแผลเป็นมากขึ้น

5. การรับประทานอาหาร
อาหารบางอย่างทำให้เกิดสิว
ความจริงคือ การทานอาหารบางอย่างมีผลต่อการเกิดสิว ในปัจจุบันมีการรายงานอาหารที่เกิดสิวได้แก่ อาหารไขมันสูง / ผลิตภัณฑ์นม เนย / อาหารที่มีแคลอรีสูง ส่วนมากเป็นอาหารของชาวตะวันตก แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับการทานชอคโกแลต

เอ็มเอไอ เลเซอร์คลีนิค