LINE

ติดต่อสอบถาม ได้ที่ 074-223420 หรือ 081-5988838
LINE ID : mailaser2006

2554-02-18

แผลเป็น...ความจริงเป็นเช่นไร ตอนที่ 1

การเกิดแผลเป็นเกิดตามหลังการบาดเจ็บที่ผิวหนังจากสาเหตุใดก็ได้แล้วไปการกระตุ้นกระบวณการซ่อมแซมผิว โดยปกติการซ่อมแซมนี้ร่างกายเราพยายามจะซ่อมผิวให้เหมือนเดิมมากที่สุด แต่ความเป็นจริงคือผิวหนังส่วนที่มีแผลเป็นจะมีความแข็งแรงเพียง 70-80 % ของผิวหนังปกติ


หากการซ่อมแซมผิวไม่ได้เกิดตามกระบวนการที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่ไม่น่าดูขึ้น รวมถึงในบางคนอาจมีอาการคัน ชา หรือเจ็บเป็นครั้งคราวร่วมบริเวณแผลเป็นด้วย


ชนิดของแผลเป็นที่พบบ่อย


1) แผลเป็นคีลอยด์ ( Keloids)


เป็นแผลเป็นนูนแข็ง สีชมพูถึงแดงเข้ม ขยายใหญ่ออกนอกแนวแผลเดิมได้ และมักไม่หดเล็กลง พบได้ในคนผิวคล้ำมากกว่าผิวขาว

2) แผลเป็นนูน (Hypertrophic scar)


แผลเป็นชนิดนี้ดูเผินๆคล้ายกับแผลเป็นคีลอยด์ แต่จะนูนน้อยกว่าและแผลจะไม่ขยายออกนอกรอยแผลเดิม


3) แผลเป็นชนิดบุ๋ม (Atrophic scar)


เกิดจากการยุบตัวของชั้นหนังแท้ พบบ่อยที่สุดบนผิวหน้าจากปัญหาสิวอักเสบ


4) รอยแตกลาย (Striae or Stretch marks )

รอยแตกลาย จัดเป็นรอยแผลเป็นบนผิวหนังอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษคือเป็นเส้นยาวเกิดจากการอักเสบของชั้นหนังแท้เมื่อผิวมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีสีชมพูในช่วงแรกและกลายเป็นรอยสีขาวในที่สุด


การรักษา


ในปัจจุปันการรักษาแผลเป็น สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับลักษณะของแผลเป็น ซึ่งวิธีการรักษาก็จะมีความแตกต่างกัน การใช้เลเซอร์ช่วยในการรักษาเป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวธีที่เห็นผลมากที่สุดนั่นเอง



อรวิมล สุทธิศิริกุล

ขอบคุณรูปและข้อมูลจาก E-medicine : Laser Revision of Scar : Keyvan Nouri, MD

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น