รอยดำบนผิวหนังที่คนทั่วไปรู้จักดี คือรอยดำประเภท กระ ฝ้า ไฝ หรือปาน แต่รอยดำอีกประเภทที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นปัญหาหนักใจที่ทำให้คนไข้ต้องมาพบหมอ คือ รอยดำตามหลังการอักเสบของผิวหนังแบบต่างๆ
สาเหตุของการเกิดรอยดำประเภทนี้ ได้แก่
1. ผิวหนังอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือไวรัส ทำให้เกิดแผลและทิ้งรอยดำ
2. ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการแพ้สัมผัส เช่น แพ้เครื่องสำอาง
รอยดำที่คอจากการเล่นไวโอลิน
รอยดำที่นิ้วจากการแพ้สารเคมี
3. บาดแผลจากอุบัติเหตุ เช่น รอยถลอก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รอยดำที่ข้อมือจากการทำอาหาร
4. รอยดำหลังจากการใช้ยาทาหรือยารับประทานบางชนิด เช่น ยาต้านมะเร็ง
ยาปฎิชีวนะบางตัว
รอยดำหลังใช้ยา Bleomycin
5. รอยดำจากปัญหาโรคผิวหนังเรื้อรัง อื่นๆ เช่น สิว
รอยดำจากโรคผิวหนัง
รอยดำประเภทนี้โดยมาก มักจะจางลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปแต่รอยดำบางประเภทจางช้ามาก โดยใช้เวลามากกว่า 6 – 12 เดือน ขึ้นไป
การรักษา
มักต้องใช้หลายวิธีร่วมกันจึงจะเห็นผล
· ทายาลดรอยดำ ที่มีส่วนผสมที่ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวและยับยั้งการสร้างเม็ดสี เช่น กรดวิตามินเอ กรดอะซีลาอิก สารไฮโดรควิโนน
ยาประเภทสเตียรอยด์
· ปกป้องผิวจากแสงแดด เนื่องจากการโดนแดดจะทำให้รอยดำเข้มขึ้น และหายช้า
· เร่งการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้าออกไป และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ เช่น ผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี เป็นต้น
· การใช้เลเซอร์เพื่อช่วยกำจัดเม็ดสีที่ผิดปกติ สามารถทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ
เลเซอร์เอ็นดีแย็ค 1064 [ ND-YAG 1064 ] โดยแสงเลเซอร์สามารถผ่านลงไปทำลายเม็ดสีในชั้นลึกได้โดยไม่ทำให้เกิดแผลด้านบน
เลเซอร์ฟายสแกน [ FINESCAN LASER 1550] เป็นวิธีการยิงลำแสงขนาดเล็กจำนวนมาก ลงไปบนผิวที่มีรอยดำ ช่วยขจัดเม็ดสีและผลัดออกจึงทำให้รอยดำจางเร็วขึ้น
ไอพีแอล [ IPL ] ได้ผลบ้างแต่ไม่มากนัก
· เลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน หรือลองทดสอบบนผิวจุดเล็กๆก่อน
· สิ่งสำคัญที่สุดคือดูแลผิวหนัง ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผล หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา หากมีโรคผิวหนังเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์
อรวิมล สุทธิศิริกุล
เอ็มเอไอเลเซอร์คลีนิค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น