สิวอุดตันเป็นปัญหาโรคผิวหนังพบได้บ่อยที่สุด และพบได้กับทุกเพศทุกวัย สิวอุดตันที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมักเป็นบริเวณหน้าผาก และคาง ต่างจากสิวอุดตันที่เกิดจากการใช้เครื่องสำอาง ซึ่งมักจะเกิดบริเวณแก้ม
สิวอุดตันแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
1.สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ (Open comedones)
เป็นสิวอุดตันที่เห็นเป็นจุดเล็กๆ สีดำเกิดจากการวมกันของเม็ดสีเมลานินกับสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน
2.สิวหัวปิด หรือสิวหัวขาว (Closed comedones)
เป็นสิวอุดตันที่มีหัวเป็นสีขาวนูน เนื่องจากรูขุมขนถูกปิดจนสนิท
สิวอุดตันทั้งสองประเภทมักมีขนาด 1-2 มิลลิเมตร แต่บางครั้งอาจเริ่มต้นเป็นสิวขนาดจิ๋ว (micro comedones) ซึ่งเล็กมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงสิวอุดตันขนาดใหญ่
สุดท้ายคือสิวอุดตัน ที่พบบ่อยในคนสูงอายุ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายจากแสงแดด (Solar comedones)
การเกิดสิวอุดตันเป็นปัญหาโดยตรงของต่อมไขมันและท่อไขมันที่เปิดออกสู่รูขุมขน โดยมีการกระตุ้นจากสาเหตุเหล่านี้
- การทำงานที่ไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเทอโรน ซึ่งสร้างจากรังไข่ในผู้หญิง และลูกอัณฑะในเพศชาย
- แบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนังสร้างกรดไขมันเพิ่มขึ้น
- ผิวบวมน้ำจากภาวะมีประจำเดือน หรือจากใช้ครีมบำรุงมากเกินไป
- ผิวหนังสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น น้ำมัน และสีบางชนิดที่ผสมมาในเครื่องสำอาง
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานอาหารจำพวกนมหรือ อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
- การกระตุ้นผิวมากเกินไป บ่อยครั้งที่ทำให้เกิดสิวอุดตัน ไม่ว่าจะเป็นการบีบสิว ขัดหน้า ลอกหน้า นวดหน้า หรือแม้แต่การทำเลซอร์ สามารถทำใ้เกิดสิวอุดตันแบบชั่วคราวได้
การรักษาสิวอุดตัน
การรักษาจำเป็นต้องทำต่อเนื่องและต้องใช้เวลา เพราะสิวอุดตันส่วนใหญ่มักจะกลับมามีอาการได้อีก หากเรายังไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลผิว
การดูแลเบื้องต้น แบบง่ายๆ ได้แก่
- ล้างหน้าให้สะอาดประมาณ 2 ครั้ง ต่อวัน การล้างหน้าขึ้นกับเครื่องสำอางที่ใช้ หากมีการใช้เครื่องสำอางหลากหลายชนิด การล้างหน้าด้วยสบู่อ่อน และน้ำอาจไม่เพียงพอ
- เลือกเครื่องสำอาง เป็นหัวใจของการดูแลผิว หากคุณเมีผิวมันเป็นสิวง่าย เครื่องสำอางที่ใช้ควรเป็นชนิดไม่มีน้ำมัน และไม่กระตุ้นการเกิดคอมีโดน หรือ สิวอุดตัน (เครื่องสำอางประเภทนี้จะมีคำกำกับไว้ว่า oil-free และ no comedogenic เป็นต้น)
- ทายาหรือผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยในการละลายสิว เช่น กรดวิตามินเอ กรดซาลิไซลิก กรดผลไม้ และเบนโซอิล เปอร์ออกไซด์ หรือ BP
- การรักษาโดยยารับประทานเหมาะกับในคนที่มีสิวอุดตันจำนวนมาก หรือสิวอักเสบร่วมด้วย ยาที่ใช้คือยาคุมกำเนิด หรือยารักษาสิว isotretinoin
ในกรณีที่สิวอุดตัน ไม่ดีขึ้นหลังการดูแลด้วยวิธีเบื้องต้น จำเป็นต้องใช้วิธีการต่อไปนี้ร่วมด้วย
-การกดสิว
-การกรอผิวด้วยวิธีต่างๆ
-การลอกผิวด้วยกรด
-การเจาะเปิดหัวสิวด้วยเข็ม เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือเลเซอร์
การรักษาด้วยเลเซอร์มีข้อดีเหนือการจี้ด้วยไฟฟ้า หรือ เข็มคือ แผลเล็ก ผิวบอบช้ำน้อยกว่า ไม่มีเลือดออก และเกิดดำหรือปัญหาหลังการรักษาน้อยกว่าจึงเหมาะกับคนเอเชีย ซึ่งมีผิวคล้ำ
ข้อเสียคือเลเซอร์ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น จึงมักเลือกทำเมื่อจำเป็น
สิว / สิวอุดตัน / สิวอักเสบ / สิวหัวช้าง / สิวหัวดำ / สิวหัวขาว /สิวเสี้ยน / สิวฮอร์โมน / การรักษาสิว / คลีนิกรักษาสิว / ผลิตภัณฑ์รักษาสิว /เลเซอร์สิว / รอยแดง / รอยดำ / รอยสิว / หลุมสิว / แผลเป็นสิว / ผิวมัน / สิวเครื่องสำอาง / เลือกเครื่องสำอางสำหรับผิวเป็นสิว / ผิวแพ้ง่าย / กรดวิตามินเอ / ยารักษาสิว