LINE

ติดต่อสอบถาม ได้ที่ 074-223420 หรือ 081-5988838
LINE ID : mailaser2006

2554-01-26

การเลือกใช้ครีมกันแดด

ผิวหนังและตาเป็นอวัยวะที่ต้องเปิดรับแสงแดดได้มากที่สุด แม้ว่าผมและเล็บจะมีโอกาสได้รับมากที่สุดเช่นกันแต่ไม่ไวต่อแสงและมีความสำคัญมากในทางการแพทย์การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผิวหนัง ตา และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยเฉียบพลันหรือสะสมเรื้อรัง

ผลกระทบเฉียบพลันได้แก่ ผิวหนังแดง (Erythema) ผิวหนังเกรียมและกระจกตาอักเสบจากแสงแดด (Photokeratitis)

ผลกระทบสะสมเรื้อรังเช่น มะเร็งผิวหนัง ผิวหนังแก่ก่อนวัย โรคตาเช่นต้อเนื้อ ต้อลม(Pterygium) และพยาธิสภาพของกระจกตา (Keratopathy)

ขณะที่ UV-B ก่อให้เกิดผิวหนังเกรียมและมะเร็งผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ UV-A มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและความสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเนื้อเยื่ออีลาสติคดังนั้นจึงไปเร่งอายุขัยให้กับเซลล์ผิวหนัง เราจึงมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจเรื่องความสามารถของผิวหนังในการปรับตัวต่อรังสีอัลตราไวโอเลตโดยก่อให้เกิดเซลล์สร้างสีสีแดงหรือสีน้ำตาล (Tan) ซึ่งมีผลต่อต้านการรับรังสีอัลตราไวโอเลตในขณะที่ตามนุษย์ไม่มีความสามารถนี้

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันผิวหนังคือการสวมเสื้อผ้า หมวก กางเกง เสื้อผ้าที่รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านได้ควรระบุชัดเจน ส่วนผิวที่ไม่สามารถป้องกันได้โดยเสื้อผ้าควรใช้ยากันแดดที่ประกอบด้วยตัวกรอง UV-A และ UV-B ระหว่างได้รับแสงแดดครั้งแรกควรใช้ยากันแดดที่มีแฟคเตอร์ป้องกันแสงแดด SPF (Sun Protection Factor) ประมาณ 30

เด็กและทารกควรได้รับการระมัดระวังมากเป็นพิเศษความสามารถป้องกันแสงแดดของยากันแดดไม่เพียงขึ้นอยู่กับคุณภาพแต่รวมไปถึงการใช้อย่างถูกวิธี คนส่วนใหญ่ทายากันแดดน้อยเกินไปและทาไม่บ่อยอย่างเพียงพอ

ยากันแดดที่มีแฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดต่ำกว่า 15 ควรจะต้องทาทุก 2 ชั่วโมง ควรใช้ก่อนรับแสงแดดและควรทาซ้ำหลังการว่ายน้ำถ้าใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันผิวเกรียม มะเร็งผิวหนังและการแก่ก่อนวัย

การเลือกใช้ยากันแดด

แฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์เป็นตัวบอกประสิทธิภาพที่สูงขึ้นตามตัวเลขเนื่องจากอันตรายต่อผิวหนังที่ได้รับจาก UV-A และยังไม่มีมาตรฐานการกรอง UV-Aของยากันแดดจึงควรตรวจสอบวันหมดอายุของตัวกรอง UV-A ในผลิตภัณฑ์ด้วยไม่ควรใช้ยากันแดดเพื่อการอยู่กลางแดดนานขึ้นแต่ว่าควรจำกัดการได้รับแสงแดดเช่นกันจึงเป็นเหตุผลว่าควรทายากันแดดซ้ำบ่อยๆโดยเฉพาะบริเวณที่อ่อนและไวต่อแสงเช่น จมูก หู คอ หลังส่วนบน หลังเท้า ฯลฯ ให้เลือกยากันแดดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละชนิดผิวและระดับดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต ดังตาราง

ตารางที่ 2 แสดง แฟคเตอร์ป้องกันแสงแดดที่แนะนำสำหรับแต่ละชนิดผิว ที่ระดับดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต ต่างๆ

UV INDEX

ชนิดผิวที่ 1

ชนิดผิวที่ 2

ชนิดผิวที่ 3

ชนิดผิวที่ 4

1-3

15

12

9

6

4-6

30

25

15

12

7-9

50

40

30

20

>10

60

50

40

30

ตารางที่ 1 แสดงชนิดผิวหนัง

ชนิดผิว

สีผิว

สีตา

สีผม

ชนิดผิวที่ 1

ขาว /อาจมีกระเล็กน้อย

ฟ้า

แดง

ชนิดผิวที่ 2

ขาว

ฟ้า / เขียว

บลอนด์ / น้ำตาล

ชนิดผิวที่ 3

ขาว

น้ำตาล / เทา

น้ำตาล

ชนิดผิวที่ 4

ดำหรือน้ำตาลเข้ม

น้ำตาล

น้ำตาล/ดำ

นอกจากชนิดผิวหนังแล้วปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับโรคผิวหนังและโรคตายังสามารถเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการป้องกันได้เช่นปฏิกิริยาความไวต่อแสงที่เกิดจากยาบางชนิดที่รักษาโรคผิวหนังเช่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับแสงในช่วง UV-B และ UV-A (Psoralens) สารเคมีซึ่งอยู่ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดมีความสามารถดูดซับแสงที่ความยาวคลื่น 405 nm (porphyrin)น้ำมันดำแลถ่านหิน ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบชนิดต่างๆและพืชบางชนิด ฯลฯ สามารถก่อให้เกิดผิวหนังแดงแม้เพียงได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นปริมาณเล็กน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น